webtumwai.com=> นานาสาระ เตียงคนไข้ -> การดูแลเมื่อผู้ป่วยเข้าช่วงสุดท้ายของชีวิต สิ่งสำคัญที่ญาติควรรู้ไว้


การดูแลเมื่อผู้ป่วยเข้าช่วงสุดท้ายของชีวิต สิ่งสำคัญที่ญาติควรรู้ไว้

FaceBook Twitter
จำนวนผู้เข้าชม : 3947 คน

การดูแลเมื่อผู้ป่วยเข้าช่วงสุดท้ายของชีวิต สิ่งสำคัญที่ญาติควรรู้ไว้


รายละเอียด

การดูแลเมื่อผู้ป่วยเข้าช่วงสุดท้ายของชีวิต สิ่งสำคัญที่ญาติควรรู้ไว้

รหัส : 71

ราคา : 0 .-

ประเภท : นานาสาระ เตียงคนไข้


ในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน ไม่มีอะไรที่อยู่ยงคงกระพัน โดยเฉพาะชีวิตของมนุษย์เรานั้นแสนสั้น เมื่อความชีวิตใกล้สิ้นสุดลง วาระสุดท้ายของการมีชีวิตอยู่ การรับรู้ ญาติมิตรที่อยู่รอบข้าง ล้วนแล้วมีความสำคัญต่อผู้ใกล้สิ้นชีวิตมาก วันนี้ขออนุญาตินำเสนอบทความดีๆไว้เป็นความรู้ให้กับญาติมิตรทั้งหลายเพื่อที่จะได้ทราบวิธีดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย

คัดลอกมาจากแผ่นพับที่หน่วย Palliative Care ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว รพ.รามาธิบดี ทำไว้สำหรับแจกญาติผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เราได้ดูแล และเยี่ยมบ้าน เขียนโดย พญ. ดาริณ จตุรภัทรพร อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ ขอขอบคุณที่มาของบทความ

เมื่อผู้ป่วยที่คุณรักกำลังจะจากไป เขาจะมีการเปลี่ยนแปลงในร่างกายหลายอย่างที่สังเกตได้
ส่วนใหญ่ไม่ใช่อาการที่น่าตกใจและไม่ใช่อาการที่ต้องรักษา
ไม่ต้องตกใจหรือรู้สึกผิดว่าจะต้องพาไปรักษาที่โรงพยาบาลหากนั่นไม่ใช่สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการในระยะสุดท้ายของเขา
อาการเหล่านี้แพทย์จะไม่ได้รักษาเพิ่มเติมเพราะไม่ใช่อาการที่จะรักษาได้
แต่เป็นอาการจากไปตามธรรมชาติ
ซึ่งได้แก่อาการต่อไปนี้

1. อ่อนแรงและนอนหลับมากขึ้น
ดูอ่อนเพลียแบบค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลาเป็นวัน
แต่บางคนก็อาจเกิดเร็วเป็นชั่วโมง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่นอนหลับอยู่บนเตียงตลอดวันและอาจจะตื่นในช่วงเวลากลางคืน
บางรายอาจจะหลับลึกจนดูเหมือนปลุกไม่ตื่น
อาการดังกล่าวไม่ใช่อาการที่น่ากลัวและไม่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน
ร่างกายอาจมีการขยับแบบอัตโนมัติได้โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว เช่น การกำมือ หรือ กัดฟันกรอดๆร่วมด้วยได้


วิธีการดูแลผู้ป่วย
- หาเตียงที่นอนสบายให้กับผู้ป่วย ยกหัวสูงเล็กน้อย อาจมีหมอนข้างมาช่วยเสริมด้านข้าง

- พลิกตัวผู้ป่วยทุก 6-8 ชั่วโมง โดยไม่ควรพลิกตัวบ่อยกว่านี้ให้ผู้ป่วยรำคาญ

- ควรใส่สายสวนปัสสาวะ หรือ แพมเพิร์ส เพื่อสะดวกในการดูแล และผู้ป่วยไม่ต้องลุกจากเตียง
(สายสวนปัสสาวะไม่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดมากขึ้นและสะดวกกว่าแพมเพิร์ส)

- กอด และสัมผัสผู้ป่วยเป็นระยะๆได้

- อนุญาตให้ตัวเองร้องไห้ได้

- ไม่ต้องกลัวว่าการสนทนากันตามปกติจะรบกวนการพักผ่อน
ของผู้ป่วย
สามารถสนทนากันได้ด้วยเสียงปกติ ที่ไม่ดังเกินไป และไม่ต้องปรับเสียงให้เบาลงเหมือนเสียงกระซิบ

- สามารถพูด และสื่อข้อความดีๆที่อยากบอกกับผู้ป่วยได้
ตลอดเวลา
เพราะแม้ผู้ป่วยจะอ่อนเพลียมากจนไม่สามารถพูดได้  
แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังสามารถได้ยินและเข้าใจสิ่งที่ญาติพูดได้
เนื่องจากหูและการได้ยินจะเป็นอวัยวะสุดท้ายที่ผู้ป่วยจะสูญเสียการทำงานไป


2.  การกินอาหารและการดื่มน้ำจะลดลง
ในช่วงเวลานี้อาหารและน้ำไม่ได้ช่วยทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและไม่ได้ช่วยยืดเวลาให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น
เนื่องจากร่างกายทำงานได้ช้าลงมาก
ระบบการย่อยและดูดซึมอาหารไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ


วิธีการดูแลผู้ป่วย
- หากผู้ป่วยขอดื่มน้ำ ให้ยกศีรษะผู้ป่วยขึ้นและป้อนน้ำทีละเล็กน้อยด้วยหลอดหยด หรือ อมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ

- หากผู้ป่วยไอ ให้หยุดการป้อนน้ำทันที

- การให้น้ำเกลือในช่วงเวลานี้ ไม่ได้ช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น
และอาจทำให้ผู้ป่วยยืดความทุกข์ทรมานออกไปอีก
เนื่องจากน้ำเกลือประกอบด้วย น้ำ เกลือ และน้ำตาล
จึงไม่มีสารอาหารเพียงพอที่จะทดแทนอาหารได้
เพียงแต่หล่อเลี้ยงความทรมานระดับเดิมไว้
โดยทั่วไปอาจพิจารณาให้น้ำเกลือหากจำเป็นต้องให้ยาทางเส้นเลือดเท่านั้น

- การให้อาหารในช่วงเวลานี้ อาจเป็นเหตุให้สำลักเข้าไปในระบบทางเดินหายใจและติดเชื้อในปอดได้
ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานเพิ่มขึ้นหรือเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร
การได้รับอาหารที่น้อยลงในระยะนี้ไม่ได้เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยอดอาหารจนถึงแก่ความตาย
ผู้ป่วยถึงแก่ความตายเพราะโรคของผู้ป่วยเอง
การให้ท่ออาหารประเภทต่างๆไม่ว่าจะทางท่อทางเดินอาหารหรือท่ออาหารทางเส้นเลือดจึงควรพิจารณาอย่างมาก
เพราะมักจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บ รำคาญและอาจเป็นสาเหตุให้ถึงแก่ความตายก่อนเวลาดังกล่าว

3. การดูแลช่องปากของผู้ป่วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายใจทางปาก และ มักจะดื่มน้ำได้เพียงเล็กน้อย
ทำให้ปากและลิ้นของผู้ป่วยแห้งมาก ซึ่งทำให้ทุกข์ทรมานได้


วิธีการดูแลผู้ป่วย
- ผสมน้ำ ประมาณ 1 ลิตรกับ เกลือช้อน และผงฟู 1 ช้อน
แล้วใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำดังกล่าวเช็ดปาก เหงือกและลิ้นของผู้ป่วย  
ไม่ต้องตกใจหากผู้ป่วยกัดผ้าก๊อซขณะที่เช็ดในปาก
ให้เช็ดต่อไปจนการกัดผ้าก๊อซคลายลง

- เปลี่ยนส่วนผสมน้ำ เกลือ และผงฟูใหม่ทุกวัน

- เช็ด ปาก เหงือกและลิ้นของผู้ป่วยได้ทุกชั่วโมง เพื่อให้ชุ่มชื้น


4. การดูแลตาของผู้ป่วย
เนื่องจากผู้ป่วยปิดตาไม่สนิททำให้เกิดอาการตาแห้งแสบได้


วิธีการดูแลผู้ป่วย
- อาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตาให้ผู้ป่วยวันละ 4 ครั้ง หากตาผู้ป่วยเผยอเปิดตลอดเวลา



5. อาการปวด
โดยทั่วไปอาการปวดของผู้ป่วยมักจะไม่เพิ่มขึ้นในช่วงสุดท้าย
เนื่องจากผู้ป่วยขยับตัวน้อยลงและนอนหลับมากขึ้น
ในบางครั้งที่ญาติช่วยขยับตัวผู้ป่วย อาจได้ยินเสียงเหมือนผู้ป่วยร้องคราง
เสียงดังกล่าวมาจากการขยับตัวร่วมกับการหายใจออก ไม่ใช่มาจากอาการปวด


วิธีการดูแลผู้ป่วย
- สังเกตอาการปวดโดยดูจากการหน้านิ่วขมวดคิ้วแทนเสียงร้องคราง
อาจพิจารณาให้ยาแก้ปวดเพิ่มหากมีอาการดังกล่าวบ่อยครั้ง

- โดยทั่วไปควรลดปริมาณยาแก้ปวดลงและอาจจะต้องเปลี่ยนวิธีการให้ยา
เช่นจากยากินมาเป็นยาฉีด หรือยาที่สามารถดูดซึมใต้ลิ้นได้
เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย

6. ภาวะกระสับกระส่าย
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีภายในร่างกาย เนื่องจากอวัยวะต่างๆเริ่มวาย


วิธีการดูแลผู้ป่วย
- อาจพิจารณาให้แพทย์สั่งยานอนหลับอย่างอ่อนให้เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนบ้าง
ซึ่งยาเหล่านี้ไม่ได้ทำให้หลับลึกจนตาย อย่างไรก็ตามให้พิจารณาตามสภาพอาการ
หากกระสับกระส่ายประสาทหลอนมาก อาจช่วยให้ผู้ป่วยได้พักหลับมากขึ้น
แต่หากอาการไม่มาก อาจไม่จำเป็นต้องรักษาอาการนี้
เพราะผู้ป่วยหลายรายอยากมีสติก่อนตาย ไม่อยากง่วงงุนงง
อยากรู้สึกตัวว่าได้ร่ำลาญาติๆก่อนจากไป
บางรายอยากมีจิตอันเป็นกุศลหรือท่องบทสวดมนต์ก่อนลมหายใจสุดท้าย
เพื่อให้เป็นการตายดีตามความเชื่อของตน


7. หายใจไม่เป็นจังหวะ  
อาจหายใจช้าบ้าง เร็วบ้าง ลึกบ้าง ตื้นบ้าง และอาจหยุดหายใจเป็นช่วงๆ
ซึ่งช่วงที่หยุดหายใจนี้จะค่อยๆยาวขึ้นเมื่อผู้ป่วยใกล้จะเสียชีวิต
ตัวผู้ป่วยเองจะไม่รู้สึกทรมานกับอาการนี้
เพราะเกิดจากภาวะกรดและด่างเปลี่ยนแปลงไปหลังจากอวัยวะต่างๆหยุดทำงาน


วิธีการดูแลผู้ป่วย
- ผู้ป่วยในภาวะนี้ไม่ได้ขาดออกซิเจน การให้ออกซิเจนจึงไม่จำเป็นและไม่ได้ช่วยชีวิตผู้ป่วยในระยะนี้
ตรงกันข้ามการให้ออกซิเจนกลับทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแห้ง เจ็บ และอึดอัดไม่สบายตัว
ดังจะสังเกตได้จากผู้ป่วยจะพยายามดึงหน้ากากหรือท่อออกซิเจนทิ้งอยู่ตลอดเวลาทั้งๆที่ไม่รู้สึกตัว


8. ภาวะเสียงดังครืดคราดจากน้ำลายสอ
เมื่อใกล้เวลาที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิต ญาติอาจได้ยินเสียงดังครืดคราดในลำคอคล้ายเสียงกรน
ในขณะที่ผู้ป่วยซึมลงมากและไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว
เสียงนี้เกิดจากกล้ามเนื้อในการกลืนไม่ทำงาน ลิ้นตก แต่ต่อมน้ำลายน้ำเมือกต่างๆยังทำงานอยู่
ภาวะดังกล่าวไม่ทำให้ทางเดินหายใจอุดตันจนถึงแก่ความตาย


วิธีการดูแลผู้ป่วย
- ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงโดยมีหมอนยาวรองหลัง จะช่วยลดเสียงดังครืดคราดลงได้

- แพทย์อาจพิจารณาสั่งยาเพื่อช่วยลดอาการน้ำลายสอ หากมีอาการน่ารำคาญอย่างมาก

- ไม่ควรดูดเสมหะด้วยเครื่องดูด เนื่องจากไม่ได้แก้ไขสาเหตุ และทำให้ผู้ป่วยเจ็บและอาเจียนจากท่อที่ล้วงลงไปดูดเสมหะในลำคอ

9. มือเท้าเย็น ไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง
เมื่อเวลาของผู้ป่วยใกล้หมดลง ญาติอาจสังเกตได้จากมือเท้าเย็น
เปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ผิวเป็นจ้ำๆ ตาเบิกกว้างแต่ไม่กระพริบ ปัสสาวะน้อยลงมาก
ผู้ป่วยบางรายอาจตื่นขึ้นมาในช่วงเวลาสั้นๆ เหมือนอาการดีขึ้น
ซึ่งเป็นเพราะผู้ป่วยพยายามรวบรวมพลังงานสำรองที่มีทั้งหมดมาใช้ในการร่ำลาญาติครั้งสุดท้ายก่อนจากไป


วิธีการดูแลผู้ป่วย
- ควรหยุดวัดความดันโลหิตหรือสายวัดต่างๆรอบตัว แกะเครื่องพันธนาการผูกมัดผู้ป่วยต่างๆให้ได้มากที่สุด
เนื่องจากค่าที่วัดได้ไม่สามารถเชื่อถือได้และเป็นการรบกวนผู้ป่วยมากขึ้น

- ตั้งสติให้ดี อย่าตกใจ ใช้เวลาช่วงสุดท้ายอยู่ข้างเตียงกับผู้ป่วยมากที่สุด ก่อนที่จะดำเนินพิธีทางศาสนาต่อไป

สุดท้ายนี้การเลือกเตียงคนไข้ให้กับผู้ป่วยที่ใกล้จะจากไปนั้นก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพื่อที่ผู้ป่วยนั้นจะได้จากไปอย่างสงบ




  เมื่อวันที่ : 2014-09-20 19:17:49


สนใจติดต่อโทร : 087-613-1076

Line ID : 0876131076

คลิกที่นี่เพื่อดูวิธีการชำระเงิน